ไฟฟ้ากระแสสลับ คือไฟฟ้าที่ลักษณะการไหลของกระแสไฟฟ้าที่เปลี่ยนทิศทางตลอดเวลา คือ
ขณะหนึ่งมีค่าเป็น 0 แล้วจะเพิ่มขึ้นมีค่าสูงสุดในทิศทางบวกแล้วลดลงเป็น 0 ต่อจากนั้นก็จะมี
ค่าเพิ่มขึ้นอีกจนถึงค่าสูงสุด และทิศทางลบแล้วจะลดลงเป็น 0 อีก จะสลับกันไปตลอดเวลา
ถ้าไฟฟ้ากระแสสลับมีความถี่คงที่กระแสไฟฟ้าที่จะไหลก็จะเปลี่ยนทิศทางคงที่ตามไฟด้วย
ค่าใช้งาน (Effectivevalue) ของไฟฟ้ากระแสสลับ คือ จำนวนที่คำนวณจากองศาของความ
ร้อนที่ให้โดยตัวต้านทานซึ่งจะเปรียบเทียบเสมือนกับจำนวนของไฟฟ้ากระแสตรงค่าที่ใช้งาน
สามารถหาได้โดยวิธีทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่ารูทมีนสแคว (root– mean – square process)
ดังนั้นค่าใช้งานจะเป็นค่าเดียวกับค่า rms จากการที่ใช้ขั้นตอนของ rms จะได้ว่าค่าใช้งานของ
คลื่นซายน์จะเท่ากับ 0.707 เท่าของค่ายอด เมื่อแรงดันไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้า AC ที่ให้มา
ไม่มีข้อกำกับมา จะถือว่าเป็นค่าที่ใช้งานและมิเตอร์ส่วนมากจะถูกปรับแต่งให้แสดงแรงดันไฟฟ้า
และกระแสไฟฟ้าออกมาเป็นค่าที่ใช้งานหรือ rms
แหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ
วันเสาร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553
วันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2553
ไฟฟ้ากระแสสลับ <วงจร>
E = Emaxsinwt
V = Vmaxsinwt
I = Imaxsinwt
ค่ายังผล หรือค่ามิเตอร์ หรือค่ารากที่สองของกำลังสองเฉลี่ย (root mean square ; rms)
แรงเคลื่อนไฟฟ้ายังผล = Erms = Emax / root 2 = 0.707 Emax
กระแสไฟฟ้ายังผล = Irms = Imax / root 2 = 0.707 Imax
วงจรไฟฟ้ากระแสสลับ
การเขียนแผนภาพเฟรเซอร์ (PhasorDiagrams)
มีหลักการดังนี้
1. เขียนลูกศรแทนความต่างศักย์ไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้า
2. ความยาวของลูกศรแทนขนาดของความต่างศักย์ไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้า
3. ตำแหน่งของลูกศรแสดงเฟสเริ่มต้นของความต่างศักย์ไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้า
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)